ประวัตินักศึกษาวิชาทหาร

นักศึกษาวิชาทหาร
เครื่องหมายหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารจังหวัดทหารบกตาก
ตราสัญลักษณ์ศูนย์การกำลังสำรอง (ศสร.)
นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) หรือนิยมเรียกว่า รด. (ย่อจาก "รักษาดินแดน") เป็นกำลังสำรองของ
กองทัพไทยที่ฝึกหัดจากเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ภายใต้การควบคุมของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.)
ภายหลังจากการยกเลิกการฝึกยุวชนทหารในปี พ.ศ. 2490 ในปีถัดมา พลโท หลวงชาตินักรบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนสมัยนั้น ได้พิจารณาเห็นว่า การสงครามในอนาคตนั้น พลเมืองทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย ย่อมจะต้องมีส่วนร่วมในสงครามด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายโครงสร้างของกองทัพ พร้อมกับพัฒนาระบบกำลังสำรองควบคู่กันไป
กระทรวงกลาโหมจึงจัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช 2491 และคำสั่งทหารที่ 54/2477 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2491 เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว กิจการนักศึกษาวิชาทหารจึงเริ่มมีขึ้นนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในปีการศึกษา 2492 ได้เริ่มมีการฝึก นักศึกษาวิชาทหารเป็นปีแรก โดยเริ่มในกรุงเทพมหานคร แล้วจึงกระจายไปตามหัวเมืองในต่างจังหวัด
หลังดำเนินการฝึกเป็นเวลา 5 ปี (2492 - 2496) ในปี 2497 ได้มีพิธีประดับยศ
ว่าที่ร้อยตรี เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2497
ในปีการศึกษา 2528 ได้เริ่มมีการฝึกนักศึกษาวิชาทหารหญิงเป็นครั้งแรก พร้อมกับการฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4 ในส่วนของกองทัพเรือ ส่วนการเริ่มเปิดฝึก นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ในส่วนของกองทัพเรือเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในปีการศึกษา 2552 ซึ่งจะขยายการฝึกจนครบชั้นปีที่ 3 เช่นเดียวกับนักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพบกในปีการศึกษา 2554 แต่ยังคงรับ นศท.ที่สำเร็จการฝึกชั้นปีที่ 3 ในส่วนของกองทัพบกที่มีความประสงค์โอนย้ายมาฝึก นศท.ชั้นปีที่ 4 ในส่วนของกองทัพเรือไปจนถึงปีการศึกษา 2554 หลังจากนั้นเป็นการรับ นศท. ในส่วนของกองทัพเรือ โดยในปีการศึกษา 2556 จะเป็น นศท.ในส่วนของกองทัพเรือที่มาจากการฝึก นศท.ในส่วนของทหารเรือทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่า นศท. ชั้นปีที่ 5 ที่ฝึกในปีการศึกษา 2556 ในส่วนของกองทัพเรือเป็นลูกหม้อที่มาจากการฝึก นศท. ของกองทัพเรือแต่เพียงผู้เดียว
ปี 2544 กองทัพบกปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ โดยให้รวมกรมการรักษาดินแดนกับกรมการกำลังสำรองทหารบก ใช้ชื่อว่า หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.)
ในปีการศึกษา 2549 ทางกรมกำลังพลทหารอากาศได้รับอนุมัติจากกองทัพอากาศ เปิดการฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 และจะเปิดการฝึกครบทั้ง 5 ชั้นปี ในปีการศึกษา 2553
ในเดือนเมษายน 2552 หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เปลี่ยนชื่อเป็น
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน [1]







วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประวัติสนามหลวง

ประวัติสนามหลวง


ท้องสนามหลวงในสมัยสร้างกรุงใหม่ๆ นั้นคับแคบกว่าปัจจุบันมาก เพราะอยู่ในระหว่างวังหลวงกับวังหน้า มีบริเวณประมาณครึ่งหนึ่งของปัจจุบัน ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อยุบวังหน้าแล้วจึงได้ขยายอาณาเขตสนามหลวงออกไปทางด้านเหนือ ทางด้านตะวันออกก็รวมเอาถนนจักรวรรดิวังหน้าเข้าไปเป็นสนามด้วย ทำให้สนามกว้างขวางมากขึ้น และคำว่า ท้องสนามหลวง นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติให้ใช้เรียกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2398 ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นท้องนาเล็กๆ อยู่หน้าวัดมหาธาตุฯ

การทำนาที่ท้องสนามหลวงเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 3 เพราะมีพระราชประสงค์จะให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ถึงรัชกาลที่ 4 ก็ยังมีการทำนากันอยู่

ในรัชกาลที่ 5 ได้ใช้พลับพลาท้องสนามหลวงที่มีอยู่เดิมทำพระราชพิธีพืชมงคล แรกนาขวัญ และพิรุณศาสตร์ ตลอดมา ส่วนการทำนาย้ายไปทำที่ทุ่งพญาไท นอกจากทำนา ในเวลาหน้าแล้งเมื่อจะพระราชทานเพลิงศพเจ้านาย ต้องสร้างพระเมรุ ก็สร้างที่ท้องสนามหลวงนี้ แต่ก็เป็นการนานๆครั้ง สนามหลวงจึงมีชื่อเรียกว่า "ทุ่งพระเมรุ" อีกชื่อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่ถูกต้อง

สนามหลวงภายหลังจากขยายให้กว้างขวางแล้ว ได้ใช้เป็นที่จัดงานใหญ่หลายครั้ง เช่นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรกถึงพระนครเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ได้มีการแสดงรับเสด็จ โดยดัดแปลงสนามหลวงให้เป็นป่าและสร้างบ้านเมืองให้คล้ายของจริง เพื่อใช้สำหรับเป็นฉากเล่นโขนกลางแปลง

ครั้นถึง พ.ศ. 2442 สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมขุนพิษณุโลกประชานาถ) ซึ่งทรงศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศรัสเซีย ได้เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการรับเสด็จเป็นการเอิกเกริก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2442 อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการเล่นสงครามบุปผชาติ และมีการตกแต่งจักรยานสองล้อด้วยดอกไม้อย่างงดงาม แล้วเล่นขี่จักรยายขว้างปากันด้วยกระดาษลูกปาและกระดาษสายรุ้ง เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก

นอกจากนี้สนามหลวงยังเคยใช้เป็นสนามกอล์ฟ สนามว่าว และสนามแข่งม้าของราชกรีฑาสโมสรในสมัยแรกอีกด้วย ส่วนปัจจุบันสนามหลวงได้ใช้เป็นสนามอเนกประสงค์ เช่น เคยเป็นที่เปิดไฮด์ปาร์ก เป็นที่หาเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมประท้วง เป็นตลาดนัดจัดงานตามเทศกาลต่างๆ อีกมากมายหลายอย่าง

ปัจจุบันสนามหลวงกลายเป็็้นที่นัดพบของคนหลายกลุ่มที่ถูกสังคมทอดทิ้ง คุณมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง